ค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการ ตามนโยบายของ คสช.
ค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการ
1. มีความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
ชาติ หมายถึง แผ่นดินที่มีประชาชนยึดครอง มีอาณาเขตที่แน่นอน มีการปกครองเป็นสัดส่วน มีผู้นำเป็นผู้ปกครองประเทศและประชาชนทั้งหมด ด้วยกฎหมายที่ประชาชนในชาตินั้นกำหนดขึ้น เช่น ประเทศไทย มีอาณาเขต มีเนื้อที่ประมาณ 513,115 ตารางกิโลเมตร มีประชากรประมาณ 66.7 ล้านคน (พ.ศ. 2555) มีการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข มีศาสนาพุทธ เป็นศาสนาประจำชาติ มีวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม และจารีตประเพณี เป็นเอกลักษณ์ประจำชาติของตนเอง สืบทอดกันมาจากบรรพบุรุษเป็นเวลายาวนาน ผู้ที่มีความรักชาติ จะช่วยกันปกป้องรักษาชาติ ไม่ให้ศัตรูมารุกรานหรือทำร้ายทำลาย เพื่อให้ลูกหลานได้อยู่อาศัยต่อไป และทำนุบำรุงบ้านเมืองให้เจริญรุ่งเรือง ให้อยู่ร่วมกันด้วยความสงบสุขสืบไป ส่วนผู้ที่ไม่รักชาติ ก็จะผู้ที่คิดไม่ดีต่อชาติ เปิดโอกาสให้ผู้อื่นเข้ามาทำร้าย ทำลาย แล้วยึดครองประเทศชาติ สร้างความแตกแยกให้คนในชาติ นำความเสื่อมเสียมาให้ประเทศชาติบ้านเมือง
ศาสนา หมายถึง คำสอนขององค์พระศาสดาแต่ละพระองค์ เช่น ศาสนาคริสต์ คือ คำสอนของพระเยซูเจ้า ศาสนาอิสลาม คือ คำสอนของพระอัลลอฮ์ มีศาสดาชื่อมุฮัมมัด นับถือพระเจ้าองค์เดียว คือ พระอัลลอฮ์ ศาสนาพุทธ คือ คำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และศาสนาอื่นๆ ก็คือ คำสอนขององค์ศาสดาแต่ละพระองค์ตามศาสนาหรือลัทธิความเชื่อของศาสนานั้นๆ ศาสนาทุกศาสนามีไว้เพื่อสอนให้มนุษย์ละชั่ว ประพฤติดี ผู้ที่รักศาสนา จะเป็นผู้ที่นำคำสอนของแต่ละศาสนาไปประพฤติปฏิบัติในชีวิตประจำวัน ละความชั่ว กระทำแต่ความดี และทำจิตใจให้สะอาดปราศจากเครื่องเศร้าหมอง คือ ความโลภ ความโกรธ ความหลง ส่วนผู้ที่ไม่รักศาสนา จึงเป็นผู้ที่ไม่นำคำสอนของศาสนานั้นไปประพฤติปฏิบัติ ไม่ละความชั่ว ไม่ประพฤติดี ไม่ชำระจิตใจให้สะอาดปราศจากกิเลส ปล่อยให้ความโลภ ความโกรธ ความหลงครอบงำจิตใจ
พระมหากษัตริย์ หมายถึง พระเจ้าแผ่นดิน ผู้เป็นพระประมุขของประเทศ มีหน้าที่ปกครองประชาชนพลเมืองในประเทศนั้นให้อยู่ดีมีสุขตามกฎหมาย ตามครรลองคลองธรรมจารีตประเพณีวัฒนธรรมของชาตินั้นๆ เช่น ประเทศไทยมีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงเป็นพระประมุข ทรงปกครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม ตามหลักทศพิธราชธรรม ทรงให้แนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตของปวงชนชาวไทย นำความเจริญรุ่งเรืองความผาสุกมาสู่พสกนิกรถ้วนหน้า ผู้ที่รักพระมหากษัตริย์ จะเป็นผู้มีความภาคภูมิใจที่ได้เกิดมาใต้ร่มพระบรมโพธิสมภาร มีความเป็นอยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุข มีความรู้รักสามัคคีกลมเกลียว รวมน้ำใจไทยทั้งชาติให้เป็นน้ำหนึ่งใจเดียว ประพฤติตนเป็นคนดีถวายเป็นพระราชกุศล และถวายความจงรักภักดีแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ส่วนผู้ที่ไม่รักพระมหากษัตริย์ จะเป็นผู้ที่ไม่จงรักภักดี ไม่เคารพนับถือ ไม่ปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์
ตนเอง
- ตั้งใจทำกิจกรรมตอนเข้าแถว เคารพธงชาติ ร้องเพลงชาติ ไหว้พระ นั่งสมาธิ
- เข้าร่วมกิจกรรมในวันสำคัณต่างๆ เช่น วันวิสาขบูชา
- เผยแพร่ความรู้เรื่องชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
เป็นต้น
2. ซื่อสัตย์ เสียสละ อดทน มีอุดมการณ์ในสิ่งที่ดีงามเพื่อส่วนรวม
- ไม่โกหก ไม่โกงเวลาทำข้อสอบ ไม่ทุจริต
- ช่วยเหลือกิจกรรมห้อง เช่น จัดบอร์ด
- ช่วยทำเวร
- ดูแลรักษาความสะอาดในห้องเรียน
เป็นต้น
3. กตัญญูต่อพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครูบาอาจารย์
ความกตัญญู คือ การรู้สึกสำนึกในคุณ ด้วยแสดงความเคารพ นับถือ เชื่อฟัง และช่วยเหลือในกิจการงานต่าง ๆ การกระทำเช่นนี้ ย่อมนำมาซึ่งความสุข ความเจริญ และเป็นสิริมงคลแก่ชีวิตและหน้าที่การงาน ความกตัญญูเป็นเครื่องหมายของคนดี การที่เยาวชนไทยได้รับการปลูกฝังคุณลักษณะที่ดีในเรื่องของความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณถือเป็นเรื่องที่ดี เป็นการสร้างภูมิ คุ้มกันให้สังคม การเลี้ยงดูของครอบครัวเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยอบรมและส่งเสริมพฤติกรรมของเยาวชนให้มีคุณลักษณะของการเป็นคนมีความกตัญญู ความตระหนักรู้ในคุณของบุคคล สัตว์ และสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อตนเองทั้งโดยตรงและโดยอ้อมปัจจุบันมีกระแสความเจริญทางเทคโนโลยีอย่างไร้ขีดจำกัด สิ่งยั่วยุให้เกิดการเบี่ยงเบนของพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ของเยาวชน ตลอดจนการสร้างความเจริญทางวัตถุที่มากไปจนลืมคำนึงถึงความเจริญทางด้านจิตใจ ตลอดจนความต้องการทาง ด้านวัตถุเพื่อมาสนองความต้องการทางกาย ทางใจในการดำรงชีวิตประจำวันของสมาชิกในสังคมนั้น ทำให้เกิดการแย่งชิงโอกาส เพื่อการประกอบการเลี้ยงชีพ โดยลืมคำนึงเรื่องคุณธรรมและจริยธรรมในจิตใจ ลืมคำนึงถึงวิถีชีวิตแบบดั้งเดิมของคนไทยที่มีความกตัญญู รู้จักตอบแทนบุญคุณ ซึ่งความกตัญญูเป็นคุณธรรมที่สำคัญอย่างยิ่ง ที่จะช่วยรักษาและพยุงสังคม ไทย ผู้ที่มีความกตัญญู คือ มีจิตสำนึกในคุณท่านและคิดตอบแทน ส่วนผู้ที่ไม่มีความกตัญญูคือคนอกตัญญู ไม่รู้คุณ ย่อมถูกประณามว่า เป็นคนไม่ดี ไม่น่าคบหา ความกตัญญูเป็นคุณธรรมพื้นฐานของมนุษย์ ในสังคมมนุษย์ต้องเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับผู้อื่นและสิ่งอื่น ชีวิตด้านกายภาพดำรงอยู่ได้เพราะได้รับการอุปการะเลี้ยงดูจากบุคคลต่างๆ มีพ่อแม่ ครูอาจารย์ ญาติพี่น้อง เป็นต้น ความกตัญญูนี้เป็นคุณธรรมที่มนุษย์ควรปฏิบัติไม่เฉพาะต่อมนุษย์ด้วยกันเท่านั้น แต่รวมไปถึงต่อสัตว์และพืชด้วย ผู้ที่มีความกตัญญูย่อมจะทำตนเองให้มีความสุขและทำผู้อื่นให้มีความสุขด้วย
ตนเอง
- ช่วยทำงานบ้าน กวาดบ้าน ถูบ้าน
- ตั้งใจเรียน
- แต่งกายถูกระเบียบ
- เชื่อฟังคำสั่งสอนของครู
เป็นต้น
4. ใฝ่หาความรู้ หมั่นศึกษาเล่าเรียนทั้งทางตรง และทางอ้อม
ตนเอง
- ตั้งใจเรียน
- ศึกษาด้วยตนเองจากอินเทอร์เน็ต
- หาแบบฝึกหัดทำนอกเหนือจากบทเรียน
- ทบทวนบทเรียน ทำการบ้าน
เป็นต้น
5. รักษาวัฒนธรรมประเพณีไทยอันงดงาม
ตนเอง
- เผยแพร่วัฒนธรรมไทยสู่อินเทอร์เน็ต
- เข้าร่วมกิจกรรมในวันสำคัญต่างๆ เช่น วันวิสาขบูชา
- เข้าวัดทำบุญ
- ไหว้เมื่อพบครู
เป็นต้น
ตนเอง
- เผยแพร่วัฒนธรรมไทยสู่อินเทอร์เน็ต
- เข้าร่วมกิจกรรมในวันสำคัญต่างๆ เช่น วันวิสาขบูชา
- เข้าวัดทำบุญ
- ไหว้เมื่อพบครู
เป็นต้น
6. มีศีลธรรม รักษาความสัตย์ หวังดีต่อผู้อื่น เผื่อแผ่และแบ่งปัน
คนเราควรอยู่ในศีลธรรม มีความซื่อสัตย์ หวังดีต่อผู้อื่นและส่วนรวม รู้จักการแบ่งปันกัน และช่วยเหลือกันในเรื่องต่างๆ
คนเราควรอยู่ในศีลธรรม มีความซื่อสัตย์ หวังดีต่อผู้อื่นและส่วนรวม รู้จักการแบ่งปันกัน และช่วยเหลือกันในเรื่องต่างๆ
7. เข้าใจเรียนรู้การเป็นประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขที่ถูกต้อง
สังคมทุกสังคมจะเจริญก้าวหน้าเป็นปึกแผ่นได้ ย่อมต้องมีระเบียบวินัยและผู้นำของสังคมเป็นหลักในการปกครอง ผู้นำของสังคมระดับประเทศโดยเฉพาะระบอบประชาธิปไตยส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปแบบของประธานาธิบดีหรือพระมหากษัตริย์ สำหรับการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขนั้น พระมหากษัตริย์ทรงอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ แต่การใช้พระราชอำนาจด้านนิติบัญญัติ บริหาร ตุลาการ ทรงมิได้ใช้พระราชอำนาจเหล่านั้นด้วยพระองค์เอง แต่มีองค์การหรือหน่วยงานที่รับผิดชอบต่าง ๆ กันไป พระราชอำนาจทั้งปวงไม่ว่าจะเป็นฐานะประมุขของรัฐ หรือในฐานะอื่น ได้ถูกกำหนดไว้โดยชัดแจ้งในรัฐธรรมนูญ
สังคมทุกสังคมจะเจริญก้าวหน้าเป็นปึกแผ่นได้ ย่อมต้องมีระเบียบวินัยและผู้นำของสังคมเป็นหลักในการปกครอง ผู้นำของสังคมระดับประเทศโดยเฉพาะระบอบประชาธิปไตยส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปแบบของประธานาธิบดีหรือพระมหากษัตริย์ สำหรับการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขนั้น พระมหากษัตริย์ทรงอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ แต่การใช้พระราชอำนาจด้านนิติบัญญัติ บริหาร ตุลาการ ทรงมิได้ใช้พระราชอำนาจเหล่านั้นด้วยพระองค์เอง แต่มีองค์การหรือหน่วยงานที่รับผิดชอบต่าง ๆ กันไป พระราชอำนาจทั้งปวงไม่ว่าจะเป็นฐานะประมุขของรัฐ หรือในฐานะอื่น ได้ถูกกำหนดไว้โดยชัดแจ้งในรัฐธรรมนูญ
ตนเอง
- เวลามีการโหวต ในห้อง ให้ความร่วมมือ
- ฟังเสียงข้างมาก
- เสนอ แสดงความคิดเห็น
เป็นต้น
- เวลามีการโหวต ในห้อง ให้ความร่วมมือ
- ฟังเสียงข้างมาก
- เสนอ แสดงความคิดเห็น
เป็นต้น
8. มีระเบียบวินัย เคารพกฎหมาย ผู้น้อยรู้จักการเคารพผู้ใหญ่
มีระเบียบวินัย เคารพกฎหมาย ผู้น้อยรู้จักการเคารพผู้ใหญ่เป็นค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการ ข้อที่8 มีเนื้อหาความสำคัญว่าด้วยการเคารพ เชื่อฟังและปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อตกลงต่างๆที่สังคมหรือหมู่คณะได้ตั้งเอาไว้ ซึ่งหากเราทุกคนเคารพเเละปฎิบัติตามกฏหมาย ข้อบังคับ จะนำซึ่งความสุข ความสงบ ความเป็นระเบียบเรียบร้อบเเก่คนในชาติ ส่วนอีกเรื่องคือการรู้จักเคารพผู้ใหญ่ เป็นเรื่องง่ายมายเเค่เพียงผู้อาวุโสน้อยกว่า เคารพให้เกียรติเเละเชื่อฟัง ผู้อาวุโสมากกว่า ไม่ใช่เพียงเเค่การกระทำเเต่รวมไปถึงคำพูดไม่ว่าจะทำอะไรควรให้เกียรติผู้ที่อาวุโสกว่าเสมอ
ตนเอง
- ค้อมตัวเวลาเดินผ่านผู้ใหญ่
- ไหว้เวลาเดินผ่านครู
- ใช้คำพูดสุภาพกับครู
เป็นต้น
มีระเบียบวินัย เคารพกฎหมาย ผู้น้อยรู้จักการเคารพผู้ใหญ่เป็นค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการ ข้อที่8 มีเนื้อหาความสำคัญว่าด้วยการเคารพ เชื่อฟังและปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อตกลงต่างๆที่สังคมหรือหมู่คณะได้ตั้งเอาไว้ ซึ่งหากเราทุกคนเคารพเเละปฎิบัติตามกฏหมาย ข้อบังคับ จะนำซึ่งความสุข ความสงบ ความเป็นระเบียบเรียบร้อบเเก่คนในชาติ ส่วนอีกเรื่องคือการรู้จักเคารพผู้ใหญ่ เป็นเรื่องง่ายมายเเค่เพียงผู้อาวุโสน้อยกว่า เคารพให้เกียรติเเละเชื่อฟัง ผู้อาวุโสมากกว่า ไม่ใช่เพียงเเค่การกระทำเเต่รวมไปถึงคำพูดไม่ว่าจะทำอะไรควรให้เกียรติผู้ที่อาวุโสกว่าเสมอ
ตนเอง
- ค้อมตัวเวลาเดินผ่านผู้ใหญ่
- ไหว้เวลาเดินผ่านครู
- ใช้คำพูดสุภาพกับครู
เป็นต้น
9. มีสติรู้ตัว รู้คิด รู้ทำ รู้ปฏิบัติตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ตนเอง
- เก็บออมเงิน
- ใช้จ่ายอย่างประหยัด
- คิดก่อนทำ
เป็นต้น
ตนเอง
- เก็บออมเงิน
- ใช้จ่ายอย่างประหยัด
- คิดก่อนทำ
เป็นต้น
10. รู้จักดำรงตนอยู่โดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามพระราชดำรัสของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รู้จักอดออมไว้ใช้เมื่อยามจำเป็น มีไว้พอกินพอใช้ ถ้าเหลือก็แจกจ่ายจำหน่าย และพร้อมที่จะขยายกิจการเมื่อมีความพร้อม เมื่อมีภูมิคุ้มกันที่ดี
ตนเอง
- เก็บออมเงิน
- ใช้จ่ายเงินอย่างประหยัด
- ทานผักที่ปลูกเอง
เป็นต้น
ตนเอง
- เก็บออมเงิน
- ใช้จ่ายเงินอย่างประหยัด
- ทานผักที่ปลูกเอง
เป็นต้น
11. มีความเข้มแข็งทั้งร่างกาย และจิตใจ ไม่ยอมแพ้ต่ออำนาจฝ่ายต่ำ หรือกิเลส มีความละอายเกรงกลัวต่อบาปตามหลักของศาสนา
ตนเอง
- ไม่ทำผิดกฏหมาย
- ไม่ขายเสียง
- ไม่ทำบาป
เป็นต้น
ตนเอง
- ไม่ทำผิดกฏหมาย
- ไม่ขายเสียง
- ไม่ทำบาป
เป็นต้น
12. คำนึงถึงผลประโยชน์ของส่วนรวม และของชาติมากกว่าผลประโยชน์ของตนเอง
- ไม่ทำสิ่งที่ทำให้เกิดความแตกแยก
- ช่วยเก็บขยะเวลาพบเจอ
- ช่วยทำงานห้อง
เป็นต้น
ที่มา : https://sites.google.com/site/famzazadeen
เพลงค่านิยมหลักสิบสองประการ
เพลง ค่านิยม ๑๒ ประการ
"...ค่านิยมดีดี ต้องมีในหัวใจ
ถ้าเรารักเมืองไทย จดจำไว้ให้ดี
ต้องเอาดีให้ได้ เกิดเป็นไทยทั้งที
ต้องคิดดี ต้องทำดี ต้องทำได้..."
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น